การติดตั้ง Pressure Gauges ที่ถูกต้อง โดยทั่วไป Pressure Gauges หรือที่เรียกกันในภาษาช่างว่า “เกจ์วัดความดัน” จะติดตั้งบน งานท่อน้ำของเครื่องจักรหลัก เช่น เครื่องสูบน้ำ, เครื่องทำน้ำเย็น, เครื่องเป่าลมเย็น และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน หน้าที่สำคัญของ Pressure Gauges ได้แก่ ใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรหลักที่ทำหน้าที่สร้างแรงดันของไหลในระบบ ซึ่งได้แก่ เครื่องสูบน้ำ (Water Pump), เครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler), เครื่องอัดอากาศ (Air- Compressor) ฯลฯ เป็นต้น ใช้วัดความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ของเครื่องจักรหลักที่เป็นภาระ (Load) ของระบบ ต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller), เครื่องเป่าลมเย็น (Air-Handling Unit) ฯลฯ เป็นต้น การติดตั้ง Pressure Gauges ที่ถูกต้องให้เป็นไปดังนี้ี้ี้
การติดตั้ง Pressure Gauges ของเครื่องสูบน้ำแบบ End Suction จากรูปที่ 1 เป็นการติดตั้ง Pressure Gauge ของเครื่องสูบน้ำแบบ End Suction ซึ่งจะให้ข้อ ควรรู้ ดังนี้
- จะต้องติดตั้ง Pressure Gauges ทั้ง 2 ด้าน คือด้าน Suction และด้าน Discharge - ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่บริเวณหน้าแปลนของเครื่องสูบน้ำ ซึ่งโรงงานผู้ผลิตได้เจาะรูและอุด ปลั๊กมาให้แล้ว ห้ามติดตั้งหลังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Flexible Connectors หรือ Valves โดยเด็ด ขาด เพราะจะทำให้ค่าความดันที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปวัดความดันรวม ความดันตก คร่อม (Pressure Drop) ของอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ด้วย - ต้องจัดทิศทางของหน้าปัทม์ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการอ่านค่าความดัน - สเกลของ Pressure Gauge ที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับ Working Pressure ของระบบ ตำแหน่ง เข็มของ Pressure Gauge ขณะใช้งานควรอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง 60% ของสเกล - สเกลของ Pressure Gauge ด้าน Suction ควรจะมีสเกล Vacuum Pressure อยู่ด้วย โดย เฉพาะท่อ Suction ที่อยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ มิฉะนั้นแล้วในขณะที่เริ่มงานค่าความดันด้าน Suction อาจมีค่าต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งหากไม่มีสเกล Vacuum Pressure อาจจะทำให้เข็มของ Pressure Gauge กระแทกหมุดกั้นทำให้ชำรุดเสียหายได้ - ต้องติดตั้งท่อ Drain ไว้ด้วยเพื่อทำหน้าที่ Drain น้ำออกจากตัว Pressure Gauges หลังจาก อ่านค่าแล้ว ไม่ควรให้ Pressure Gauges ทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องสูบน้ำทำงาน เพราะ จะทำให้ Pressure Gauges มีอายุงานสั้นลง - ในระบบน้ำร้อนหรือไอน้ำต้องใส่ Siphon หรือไส้ไก่ก่อนเข้า Pressure Gauge ด้วย - หากความดันในระบบมีค่าสูงมาก หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าความดันตลอดเวลา ควรเลือกใช้ Pressure Gauge แบบ Oil-Filled ซึ่งจะหน่วงการทำงานของเข็มของ Pressure Gauge มิ ให้ขึ้น-ลง เร็วเกินไป - ไม่ควรติดตั้ง Pressure Gauge บนหลังท่อ โดยเฉพาะท่อน้ำที่ติดตั้งในแนวนอน เพราะ หากน้ำในท่อไม่เต็มท่อ จะทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง ควรติดด้านข้างของท่อเท่านั้น ส่วนท่อที่ ติดตั้งในแนวดิ่งจะไม่เกิดปัญหานี้แต่ประการใด แม้กระทั่งที่เครื่องสูบน้ำด้าน Suction (ดูรูป) ผู้ผลิตได้เจาะไว้ที่ด้านข้างของหน้าแปลนเช่นกัน เพื่อป้องกันการอ่านค่าไม่ถูกต้อง
การติดตั้ง Pressure Gauges ของท่อ Condenser Supply และ Condenser Return ของ เครื่องทำน้ำเย็น จากรูปที่ 2 เป็นการติดตั้ง Pressure Gauge ของท่อ Condenser Supply และ Condenser Return ของเครื่องทำน้ำเย็น ซึ่งจะให้ข้อควรรู้ดังนี้ - จะต้องติดตั้ง Pressure Gauges ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้าน Supply และด้าน Return - ตำแหน่งที่ติดตั้งอยู่ข้างท่อที่ต่อออกมาจาก Condenser ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตได้เจาะรูและอุด ปลั๊กมาให้แล้ว ห้ามติดตั้งหลังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Flexible Cnnectors หรือ Valves โดยเด็ด ขาด เพราะจะทำให้ค่าความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไป วัดความดันตกคร่อมของอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ด้วย ทำให้การ Balance น้ำผิดไปจากความต้องการ - ต้องจัดทิศทางของหน้าปัทม์ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการอ่านค่าความดัน สเกลของ Pressure Gauge ที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับ Working Pressure ของระบบตำแหน่งเข็ม ของ Pressure Gauge ขณะใช้งานควรอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง 60% ของสเกล - ต้องติดตั้งท่อ Drain ไว้ด้วยเพื่อทำหน้าที่ Drain น้ำออกจากตัว Pressure Gauges หลังจาก อ่านค่าแล้ว ไม่ควรให้ Pressure Gauges ทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องทำน้ำเย็นทำงาน เพราะจะทำให้ Pressure Gauges มีอายุงานสั้นลง - ไม่ควรติดตั้ง Pressure Gauge บนหลังท่อ โดยเฉพาะท่อน้ำที่ติดตั้งในแนวนอน เพราะ หากน้ำในท่อไม่เต็มท่อ จะทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง ควรติดด้านข้างของท่อเท่านั้น ส่วนท่อที่ ติดตั้งในแนวดิ่งจะไม่เกิดปัญหานี้แต่ประการใด แม้กระทั่งรูที่ท่อของเครื่องทำน้ำเย็น (ดูรูป) ผู้ ผลิตได้เจาะไว้ที่ด้านข้างของท่อเช่นกัน เพื่อป้องกันการอ่านค่าไม่ถูกต้อง
ข้อมูลจาก: http://www.iecm.co.th
|