มอเตอร์ไฟฟ้า

ความรู้พื้นฐานของการใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้า Induction motor 

เราคงปฏิเสธไม่ได้เราไม่เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า  เพราะทุกๆวันทุกคนคงเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้าเพราะมอเตอร์ไฟฟ้าแฝงอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้ารอบๆตัวเราทั้งนั้น  ดังนั้นหากเรามาทำความรู้จักมอเตอร์ไฟฟ้าสักนิดก็จะเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานมากยิ่งขึ้น  

1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น  (AC) 
หลักการทำงานของอินดักชั่นมอเตอร์  เมื่อจ่ายไฟฟ้าสลับ 3 เฟสให้ที่ขดลวดทั้ง 3 ของตัวสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนรอบ ๆตัวสเตเตอร์  ทำให้ตัวหมุน(โรเตอร์) ได้รับการเหนี่ยวนำทำให้เกิดขั้วแม่เหล็กที่ตัวโรเตอร์ และขั้วแม่เหล็กนี้  จะดึงดูดสนามแม่เหล็กที่หมุนอยู่รอบๆ ทำให้มอเตอร์ของอินดักชั่นมอเตอร์หมุนไปได้ ความเร็วของสนามแม่เหล็กหมุนที่ตัวสเตเตอร์นี้จะคงที่ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นโรเตอร์ของอินดักชั่น มอเตอร์ จึงหมุนตามสนามแม่เหล็กดังกล่าวด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็ก 

อินดักชั่นมอเตอร์ที่มีโรเตอร์แบบกรงกระรอก(Squirrel Cage Induction Motor) 

อินดักชั่นมอเตอร์แบบนี้ มีโรเตอร์ที่ให้กำลังแรงม้าต่ำเมื่อเทียบกับมอเตอร์แบบอื่นๆ แต่จะมีข้อดีคือจะมีความเร็วรอบการทำงานคงที่ในโหลดที่มีขนาดต่างๆ กัน และการบำรุงรักษามอเตอร์แบบนี้ไม่ยุ่งยาก จึง เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย


2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor Motor)

คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มาก ต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูง ใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อย มอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่1/20 แรงม้า ถึง10 แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด1เฟส(A.C. Single Phase)เป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีหลักการคือ แปลงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล โดยไฟฟ้าที่ใช้เป็นแบบกระแสสลับ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่า ซิงเกิลเฟสมอเตอร์(A.C. Single Phase)
           
ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์
      1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
      2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ท และชุดรัน
      3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush )หรือตลับลูกปืน ( Ball Bearing )สำหรับรองรับเพลา
      4. คาปาซิเตอร์ หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)

หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 
ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร 




Visitors: 70,890